เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา ร้านหนังสือบูคูจัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือของนักเขียน 4 คน ภายใต้งานที่ชื่อว่า "หนังสือเพื่อเธอ ผู้ทันสมัยแต่ไม่ทิ้งอิสลาม” โดยมีการเสวนาการเปิดตัวหนังสือของนักเขียนทั้ง 5 คน ได้แก่ มูสลีฮา มะแซ เจ้าของนามปากกาว่า “นูรีฮัน มาเลยเซีย” จัสมิน ยามาอุ เจ้าของนามปากกาว่า “เพียงฉัน” อิบรอเฮ็ม อารง เจ้าของนามปากกาว่า “บูหรง” ฟูอัด ยีดาแม เจ้าของนามปากกาว่า “ฟูอัด ชีวิตวิทยา”
“นูรัฮัน มาเลเซีย” พร้อมให้กำลังใจกับผู้หญิงทุกคน
มูสลีฮา มะแซ เจ้าของนามปากกา “นูรีฮัน มาเลเซีย” ผู้เขียนหนังสือ “ผู้หญิงถึงผู้หญิง” ได้กล่าวถึงเนื้อหาในหนังสือของเธอว่าเป็นเรื่องที่ได้สัมผัสด้วยตัวเอง เรื่องเกี่ยวกับสามีภรรยา เรื่องราวของผู้หญิงที่พร้อมจะเผชิญกับปัญหาอันแสดงถึงความอดทนของผู้หญิง การคลี่คลายปัญหาทางใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง
นูรีฮัน มาเลยเซีย เปิดเผยต่อว่า ตัวเองเริ่มการเขียนจากการโพสต์ในเฟสบุ๊คก่อน โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแม่ เพื่อน การแต่งกายของผู้หญิงและเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ ซึ่งปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากแฟนคลับที่ติดตามและคอมเม้นต์ในเสบุ๊กเป็นจำนวนมาก การกดไลท์ของแฟนคลับจึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขียนหนังสือเล่มแรก ชื่อ Love story 1 สาสน์รักฉบับผู้ศรัทธา ซึ่งตอนนี้กำลังรอพิมพ์ครั้งที่ 2 และได้เขียนหนังสือ Love story 2 และ 3 ที่ออกวางตลาดแล้ว และเล่มที่สองของเธอคือหนังสือ ผู้หญิงถึงผู้หญิง
ขณะนี้นูรีฮัน มาเลเซีย ได้เปิดสำนักพิมพ์ของตัวเองชื่อว่าสำนักพิมพ์ White Mind เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งจุดประสงค์ที่ได้จัดตั้งเพราะว่า ต้องการที่จะขจัดความกลัวของนักเขียนที่ไม่กล้าออกหนังสือ ตอนนี้นักเขียนในสำนักงานพิมพ์ White Mind มีด้วยกัน 5 คน ส่วนสำนักงานยังไม่มีที่เป็นหลักแหล่ง เมีเพียงสำนักพิพ์ในเฟสบุ๊ค
หนังสือที่ออกจากสำนักพิมพ์ White Mind ออกแล้วสองเล่ม คือ บทความรับเชิญและผู้หญิงถึงผู้หญิง และยังมีคิวหนังสือที่จะออกมาคือ “ปล่อยวาง” ของเพียงฉัน และ จุดประกายแห่งทางนำของฟูอัด ชีวิตวิทยา และคาดว่าจะมีการเปิดสำนักพิมพ์เป็นหลักเป็นแหล่งที่จะเปิดขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ของตัวเองและนำหนังสือจากสำนักพิมพ์อื่นโดยจะตั้งที่นราธิวาส
“เพียงฉัน” เราต้องทำตัวให้มีคุณค่า ต้องรู้จักคำว่าปล่อยวาง
จัสมิน ยามาอุ เจ้าของนามปากกาว่า “เพียงฉัน” ผู้เขียนหนังสือชื่อ “ปล่อยวาง” กล่าวถึงเนื้อหาในหนังสือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาความคิดของชีวิตของมนุษย์ทุกคนในการแก้ปัญหาที่เข้ามาในชีวิต เป็นเนื้อหาการสร้างแรงบันดาลใจที่ต้องทำให้ตัวเองมีคุณค่า และรู้ว่าจะปล่อยวางปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ศรัทธา
เพียงฉัน กล่าวว่าขณะนี้ตนกังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี กำลังศึกษาด้านชีววิทยา ได้เจอหนังสือที่ชื่อ ปล่อยวางด้วยพลังที่ศรัทธา จึงเกิดไอเดียที่จะเขียนหนังสือเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้อื่น อันเป็นที่มาของการตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ และยังบอกอีกว่าจากที่ได้เขียนหนังสือพบว่าการที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้ซึมซับเนื้อหาของหนังสือด้วยนั้นผู้เขียนต้องปฏิบัติได้ตามนั้นด้วย
“บุหรง” กับผู้ก่อการรักในดินแดนทะเลทราย
อิบรอเฮ็ม อารง เจ้าของนามปากกา “บูหรง” ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง “ก่อการรัก” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่เกิดขึ้นในดินแดนอาหรับ มีโครงเรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกล้าหาญ การเสียสละและมีเกร็ดทางประวัติศาสตร์ร่วมอยู่ด้วย
“บูหรง” กล่าวว่า จุดเริ่มต้นการเป็นนักเขียนของตัวเองเริ่มมาจากชอบอ่านนิยาย จึงทำให้รู้สึกว่านักเขียนนิยายเกี่ยวกับอาหรับที่มีวางตลาดเป็นจำนวนมากขณะนี้ไม่ค่อยมีนักเขียนมุสลิม ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายที่อยากเขียนเองบ้าง ส่วนอุปสรรคของนิยายทะเลทรายแบบใหม่มีความกดดันจากการติดตามของแฟนคลับ เพราะมีเรื่องในแนวเดียวกันให้อ่านเป็นจำนวนมาก แต่ยังดีที่มีกลุ่มอาจารย์ช่วยอ่านและคอมเม้นต์เพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง
“บูหรง” บอกว่าการเขียนนิยายผู้เขียนต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน ทั้งเรื่องศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การแต่งกาย พิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องการเขียน อย่างเช่นละครเรื่องฟ้าจรดทรายที่คนต่างศาสนิกเขียนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมุสลิมย่อมมีการผิดพลาด และล่าสุดละครฟ้าจรดทรายที่เป็นประเด็นอยู่ ณ ตอนนี้ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
“ฟูอัด ชีวิตวิทยา” จากประสบการณ์สู่จุดประกายแห่งทางนำ
ฟูอัด ยีดาแม เจ้าของนามปากกาว่า “ฟูอัด ชีวิตวิทยา” ผู้เขียนหนังสือ “จุดประกายแห่งทางนำ” เปิดเผยว่า เริ่มเขียนเนื่องจากได้เห็นสังคมเสื่อมโสมจึงต้องการที่จะตักเตือนด้วยการเขียนเพื่อตักเตือนเยาวชน ซึ่งแรงบันดารใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ จากการอ่านหนังสือ Love story 2 ของ นูรีฮัน มาเลเซีย
“ฟูอัด ชีวิตวิทยา” กล่าวว่า หนังสือจุดประกายแห่งทางนำเขียนมาแล้ว 1 ปี เป็นการเขียนแนวเรื่องสั้น ความรักและการเรียน โดยเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับหลักศาสนาและเชื่อมโยงกับการเขียนซึ่งเป็นการนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วมาเสริมแต่งและให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักที่สามารถทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วได้อรรถรสยิ่งขึ้น โดยผู้อ่านที่ต้องการเพียงแค่ต้องการความเพลิดเพลินก็ได้ แต่สิ่งที่เขาต้องการเหนืออื่นใดคือ ต้องการที่จะให้ผู้อ่านใคร่ครวญในสิ่งที่เขาเขียนด้วย
“ฟูอัด ชีวิตวิทยา” เล่าถึงตัวเองว่าเป็นศิษย์ที่ไม่มีครูที่คอยสอนและแนะนำ แต่อาศัยศึกษาด้วยตัวเอง และได้กำลังใจจากการกดถูกใจของเพื่อนๆ ในการโพสต์ผ่านเฟสบุ๊ค และเมื่อย้อนมองดูเยาวชนในสังคมที่นับวันจะต้องประสบปัญหามากมาย ทั้งสังคมที่เสื่อมโสม ปัญหายาเสพติด และอื่นๆ อีกมากมายทำให้ตัวเองมีกำลังใจในการสร้างผลงานเพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาและเพื่อพัฒนาประเทศชาติ
- See more at: http://www.deepsouthwatch.org/dsj/4671#sthash.Z3Mo7qsA.dpuf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น